Article Sound EP.5 : ‘Micromanagement’ บริหารงานจู้จี้มากไปจนลูกน้องใจไม่ดี
Manage episode 375613822 series 3168235
“อย่าทำแบบนั้น ทำแบบพี่ดีกว่า”
“งานง่ายๆ ทำไมใช้เวลานานจัง”
“งานไปถึงไหนแล้ว ใกล้เสร็จหรือยัง”
ชาวออฟฟิศทั้งหลายคงไม่มีใครชอบความจู้จี้จุกจิกในที่ทำงาน โดยเฉพาะการมีหัวหน้าที่คอยเช็คความเคลื่อนไหวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ตลอดเวลา หากมองเผินๆ อาจเป็นเหมือนความใส่ใจลูกทีมแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทว่าความใส่ใจที่มีมากจนเกินไปอาจเป็นการก้าวก่ายในหน้าที่ จนถึงขั้นปิดกั้นโอกาสในการเติบโตในการทำงานของลูกทีมก็ว่าได้
การบริหารงานยิบย่อยเป๊ะทุกกระเบียดนิ้วนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Micromanagement’ โดยมักเกิดขึ้นกับหัวหน้าเจ้าระเบียบที่มีความคิดว่างานทุกอย่างต้องออกมาเนี้ยบที่สุด จึงเกิดการบังคับบัญชาลูกทีมให้ทำตามคำสั่งและควบคุมการทำงานไม่ต่างจากหุ่นเชิด สร้างความอึดอัดใจให้กับลูกทีมและอาจนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่เป็นพิษ (Toxic Workplace)
BetterUp อธิบายว่า การบริหารแบบ Micromanagement ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่หัวหน้ากลัวความผิดพลาดและขาดความเชื่อใจในตัวลูกทีมจนไม่สามารถให้อิสระกับลูกทีมได้เป็นเจ้าของผลงาน ทำให้เกิดการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนและยึดตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง จนกลายเป็นหัวหน้าจอมจู้จี้จุกจิกกับทุกรายละเอียดของงาน อีกทั้งหัวหน้าประเภทนี้ยังก่อให้เกิดอุปสรรคในการสร้างทีมเวิร์คและทำให้ลูกทีมรู้สึกด้อยค่าในฐานะสมาชิกของทีมอีกด้วย
จากการศึกษาของ Accountemps พบว่ามีผู้คนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าที่จู้จี้จุกจิก (59%) รู้สึกบั่นทอนจิตใจในการทำงาน (68%) และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (55%) จากการศึกษาอื่นยังพบว่า หัวหน้าจู้จี้จุกจิกยังเป็นสาเหตุทำให้พนักงานลาออก (36%)
จูเลีย ดิกังจิ (Julia DiGangi) ผู้ก่อตั้ง NeuroHealth Partners ชี้ว่าการจู้จี้จุกจิกของหัวหน้าย่อมบ่อนทำลายความสัมพันธ์ของคนในทีม ซึ่งเปรียบเหมือนกับชักเย่อ โดยฝั่งหัวหน้าอาจมองว่าการบริหารดังกล่าวเป็นการเข้าใจการทำงานอย่างละเอียด ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่ลูกทีมกลับรู้สึกไม่เป็นอิสระในการทำงานและขาดความมั่นใจในตัวเอง การยื้อกันไปยื้อกันมาของสงครามชักเย่อยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายยิ่งแย่ลง มิหนำซ้ำยังสร้างบาดแผลในการทำงานต่อกัน
จูเลีย ดิกังจิ กล่าวต่อว่า “การยุติวงจรความเจ็บปวดจากความสัมพันธ์เหล่านี้ที่รวดเร็วที่สุดคือ การปล่อยเชือก การปล่อยเชือกนี้ไม่ใช่การแสดงถึงความพ่ายแพ้แต่เป็นการแสดงความเป็นผู้นำที่แท้จริง หากคุณเป็นหัวหน้าทีมหรือโค้ช การปล่อยเชือกและถอยออกมาอยู่นอกสนามเพื่อซัพพอร์ตลูกทีมคือบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำ”
ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์
--- Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support170 episode